ข่าวประชาสัมพันธ์
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563
- เจ้าของที่ดิน / เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
- เจ้าของห้องชุด
- ผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
1. เกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
สำหรับการใช้ที่ดินเพื่อทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด
ทั้งนี้ คำว่าที่ดินเพื่อการเกษตรจะต้องปลูกต้นไม้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดด้วย เช่น หากปลูกกล้วยต้องไม่ต่ำกว่า 200 ต้น/ไร่ ถ้าปลูกน้อยกว่าที่กำหนดไว้จะคิดภาษีที่ดินที่เหลือ อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์และรายละเอียดต่าง ๆ จะได้รับทราบในเร็ว ๆ นี้
อัตราภาษีที่กำหนดตามกฎหมาย
- มูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 100 บาท)
- มูลค่าเกิน 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 300 บาท)
- มูลค่าเกิน 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 500 บาท)
- มูลค่า เกิน 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 700 บาท)
- มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 1,000 บาท)
* กรณีเป็นบุคคลธรรมดาที่ทำการเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีใน 3 ปีแรกที่กฎหมายบังคับใช้
* ปีที่ 4 เป็นต้นไป ได้รับยกเว้น 50 ล้านบาทแรก/เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดังนั้นเมื่อหักค่ายกเว้นแล้วจะได้อัตราภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรสำหรับบุคคลธรรมดาดังนี้
บุคคลธรรมดาที่ทำการเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
อัตราภาษีปี 2566 เป็นต้นไป
- บุคคลธรรมดาที่ทำการเกษตร มีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
- กรณีที่ดินมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท เก็บภาษีส่วนเกิน สูงสุดไม่เกิน 0.15%
เท่ากับว่า หากเรา (บุคคลธรรมดา) มีที่ดินทำการเกษตรที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่หากเป็นนิติบุคคลยังต้องเสียภาษี ไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ
2. ที่พักอาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.3%
สำหรับคำจำกัดความของที่อยู่อาศัยนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้
1. เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะให้บุคคลใช้เพื่อการอยู่อาศัย เช่น ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัย หรือให้เช่าเพื่ออยู่อาศัย ให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย
2. ให้ครอบคลุมถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อสร้าง หรือปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยด้วย เช่น บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง เป็นต้น
3. ไม่รวมถึงโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา หรือสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้ขายตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
อัตราภาษีที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย
- มูลค่าไม่ถึง 25 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 300 บาท)
- มูลค่า 25-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 500 บาท)
- มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 1,000 บาท)
* ในปี 2563-2564 กรณีบ้านหลังหลักที่เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน (เจ้าของบ้านอาศัยอยู่เอง) และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก เท่ากับว่า หากเราเป็นมีบ้านพร้อมที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทก็ไม่ต้องเสียภาษี
ดังนั้นเมื่อหักค่ายกเว้นแล้วจะต้องเสียภาษีดังนี้
- มูลค่าไม่ถึง 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี
- มูลค่า 50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)
อัตราภาษีที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย
- มูลค่าไม่ถึง 40 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 200 บาท)
- มูลค่า 40-65 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 300 บาท)
- มูลค่า 65-90 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 500 บาท)
- มูลค่า 90 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (เท่ากับต้องเสียภาษี ล้านละ 1,000 บาท)
* ในปี 2563-2564 กรณีเป็นเจ้าของเฉพาะบ้านอย่างเดียว (บ้านเจ้าของอยู่เองบนที่ดินเช่า) และมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น จะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก แสดงว่า ถ้าเรามีบ้านปลูกสร้างอยู่บนที่ดินเช่า มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท และมีชื่อในทะเบียนบ้าน จะไม่ต้องเสียภาษี
ดังนั้นเมื่อหักค่ายกเว้นแล้วจะต้องเสียภาษีดังนี้
- มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
- มูลค่า 10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% (ล้านละ 200 บาท)
- มูลค่า 50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- มูลค่า 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.1% (ล้านละ 1,000 บาท)
- มูลค่าไม่ถึง 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% (ล้านละ 200 บาท)
- มูลค่า 50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)
3. กลุ่มอื่น ๆ (พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม) เพดานภาษีสูงสุด 1.2%
- มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)
- มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)
- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)
- มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)
- มูลค่า 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ เพดานภาษีสูงสุด 1.2% แต่จะเพิ่มเพดานเป็น 3% เมื่อปล่อยรกร้างว่างเปล่า ติดต่อกัน 3 ปี
หมายถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควร หรือถูกปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่า
- มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% (ล้านละ 3,000 บาท)
- มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% (ล้านละ 4,000 บาท)
- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% (ล้านละ 5,000 บาท)
- มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% (ล้านละ 6,000 บาท)
- มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7% (ล้านละ 7,000 บาท)
นอกจากนี้ หากปล่อยรกร้าง เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน จะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 0.3% ในปีที่ 4 และถูกเก็บเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก ๆ 3 ปี หากยังไม่ได้มีการนำมาทำประโยชน์ แต่สูงสุดไม่เกิน 3%
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต ออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
- ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี
- หากมียอดภาษี 3,000 บาทขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด งวดละเท่า ๆ กัน คือจ่ายในเดือนเมษายน, พฤษภาคม และมิถุนายน
หมายเหตุ : สำหรับในปี 2563 ซึ่งจัดเก็บภาษีที่ดินเป็นปีแรก กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศขยายกำหนดเวลาจัดเก็บภาษีที่ดินออกไป จากเดิมต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน 2563 เลื่อนไปเป็นภายในเดือนสิงหาคม 2563 เนื่องจากออกกฎหมายลำดับรอง อีก 8 ฉบับ ยังไม่แล้วเสร็จ
ดังนั้น เฉพาะปี 2563 จะดำเนินการตามระยะเวลาดังนี้
มิถุนายน 2563
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต ออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน/บ้าน ให้ผู้เสียภาษี ทราบว่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่นั้นเป็นที่ดินประเภทใด
- หากเราต้องการแก้ไขข้อมูล เช่น เปลี่ยนประเภทอสังหาริมทรัพย์ สามารถยื่นเรื่องได้ภายใน 15 วันหลังรับหนังสือ
- หลังจากนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต จะลงสำรวจพื้นที่อีกครั้ง แล้วส่งหนังสือประเมินให้ทราบ
- หากผลประเมินไม่ตรงกับที่ผู้เสียภาษีแจ้งมา สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ครั้งที่ 2
- กรณีผลอุทธรณ์ครั้งที่ 2 ไม่ทันช่วงของการเสียภาษีในเดือนสิงหาคม 2563 เราต้องชำระภาษีไปก่อน เมื่อได้ทราบผลอุทธรณ์แล้ว และผลเป็นจริงตามที่ผู้เสียภาษีแจ้งไว้ ก็จะได้รับเงินคืน
- แต่หากอุทธรณ์ไม่ผ่าน โดยพบว่าแจ้งเท็จ จะมีโทษกฎหมายอาญา จำคุก 2 ปี ปรับสูงสุด 40,000 บาท
สิงหาคม 2563
เจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีที่ดินภายในเดือนสิงหาคม 2563 โดยสามารถผ่อนจ่ายได้ 3 งวด คือ จ่ายในเดือนสิงหาคม, กันยายน และตุลาคม